IoT ตอน 2 : เมื่อโลกเชื่อมต่อความปลอดภัยบนท้องถนนผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Telematics

จากบทความที่แล้ว (จับตา อุตสาหกรรมขนส่งและยานยนต์ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) อย่างไร) ได้เล่าถึงความเกี่ยวข้องระหว่างอุตสาหกรรมยานยนต์ และเทคโนโลยี Telematics ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ภายในเครือข่ายก่อนที่สังคมจะเข้าสู่ยุค Internet of Things (IoT) ในบทความนี้ จะมาดูกันต่อว่าเมื่อนำความอัจฉริยะของ Telematics และ IoT มาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และรถขนส่ง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างประโยชน์ได้มากมายเพียงใด

แม้ว่าการให้พนักงานขับรถเข้าอบรมการขับขี่ปลอดภัยจะเป็นพื้นฐานแรกเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและช่วยลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ด้วยเทคโนโลยี Telematics สามารถทำได้มากกว่า ทั้งเพิ่มความปลอดภัยในการขับรถและลดการสูญเสียทรัพยากรเพื่อการบำรุงรักษารถอีกด้วย

การใช้ Telematics สามารถตรวจสอบและควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับรถ และนำผลที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงการขับรถให้ปลอดภัยมากขึ้น พฤติกรรมการขับรถที่ไม่ปลอดภัย เช่น การเร่งความเร็วกะทันหัน เบรกกะทันหัน เปลี่ยนเลนกะทันหัน และการขับรถด้วยความเร็วสูง เป็นต้น อุปกรณ์

Telematics จะสามารถตรวจจับและเก็บข้อมูลได้อย่างละเอียด รู้ว่ารถกำลังขับด้วยความเร็วเท่าไรจะมีการแจ้งเตือนเมื่อผู้ขับกำลังเร่งความเร็วมากเกินไป หรือเบรกกะทันหันเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ขับรถและผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นด้วยเช่นกัน
ปัจจุบัน ยังมีอุปกรณ์ด้าน Image Processing ที่เหนือชั้นไปอีกขั้น เรียกว่า Advance Driver Assistance System (ADAS) ทำหน้าที่ช่วยเฝ้าระวัง ป้องกัน และแจ้งเตือนผู้ขับขี่ด้วยเงื่อนไขต่างๆ เช่น แจ้งเตือนการชนด้านหน้าทั้งรถยนต์หรือคนเดินถนน การเปลี่ยนเลนโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว การขับจี้รถคันหน้า การตรวจจับป้ายความเร็ว โดยสามารถแจ้งเตือนผ่านทั้งภาพและเสียงจะทำให้ผู้ขับรถรู้ตัวและเพิ่มความระมัดระวังได้เป็นอย่างดี

Fatigue Monitoring System เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ Telematics ที่ใช้ Image processing ช่วยแก้ปัญหาความประมาทและอาการหลับในได้ดีที่สุด โดยตรวจจับใบหน้าของผู้ขับรถ เพื่อตรวจสอบความเหนื่อยล้า และการละสายตาออกจากถนน รวมถึงช่วยป้องกันการหลับใน เมื่อตรวจจับพบความผิดปกติบนใบหน้าของผู้ขับรถอุปกรณ์จะแจ้งเตือนให้ผู้ขับรู้ตัวเพื่อระมัดระวัง เช่น หากติดอุปกรณ์ที่เบาะเก้าอี้คนขับ เก้าอี้จะเกิดการสั่นให้พอรู้ตัว เป็นต้น

และสำหรับผู้ควบคุมยานยนต์ที่ต้องการติดตามเหตุการณ์ผ่านกล้อง VDO ด้วยตนเองอีกทางหนึ่ง ขอแนะนำให้รู้จักกับ กล้องตรวจจับภาพ ที่เรียกว่า Mobile Digital Video Recorder (MDVR) สามารถบันทึกและส่งภาพถ่ายวีดิโอการขับรถแบบออนไลน์เข้าสู่ระบบ Cloud และสามารถตัดภาพให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยผู้ควบคุมสามารถติดตามเหตุการณ์ผ่านกล้อง MDVR ที่ติดตั้งในรถแบบ Real time ได้โดยเห็นมุมมองเสมือนผู้ขับ

การใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ Telematic นอกจากจะทำให้ผู้ขับรถได้รับการแจ้งเตือนและเฝ้าระวังการขับขี่ให้ปลอดภัยมากที่สุด ยังทำให้ผู้ควบคุมยานยนต์เข้าใจรูปแบบพฤติกรรมและพิจารณาได้ว่าพนักงานขับรถต้องการคำแนะนำหรือการอบรมในเรื่องใด และให้คำแนะนำแก่ผู้ขับรถได้แบบเฉพาะราย รวมถึงสามารถแจ้งข้อมูลการขับขี่ที่เจาะจงแก่ผู้ขับรถด้วยผลจากรายงาน สถิติ หรือ การแจ้งเตือนจากระบบ ทำให้ผู้ขับรถเข้าใจและตระหนักในพฤติกรรมของตนเอง และนำไปปรับปรุงได้อย่างถูกต้องตรงจุด

การใช้ Telematics ไม่เพียงให้ข้อมูลในมุมมองของการขับรถและส่งข้อมูลแบบ Real time เพื่อรักษาความปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังให้ข้อมูลที่แสดงถึงการทำงานทั้งหมดของยานยนต์อีกด้วย ซี่งจะช่วยลดการใช้พลังงานสิ้นเปลืองและลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ได้ ในตอนต่อไป จะกล่าวถึงประสิทธิภาพของ Telematics ที่ให้ข้อมูลรายละเอียดของเครื่องยนต์ เพื่อช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรและการบำรุงรักษารถให้ใช้งานได้ยาวนานอย่างปลอดภัย

โทรศัพท์ 02-678-0963  ต่อ 3714

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

NOSTRA LOGISTICS TMS เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง Last-Mile Logistics และ e-Commerce

ความต้องการอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สร้างแรงกดดันด้านการจัดส่งสินค้า ทั้งส่วนของผู้ผลิตสินค้า 1PL ก็มีการขยายการขายสินค้า จากการค้าส่งเป็นค้าปลีก โดยจัดส่งสินค้าตรงถึงผู้บริโภค รวมถึงผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์ทั้ง 2PL และ 3PL เพราะการสั่งสินค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ซนั้น

Read More »

8 จุดเด่น NOSTRA LOGISTICS ePOD บริหารงานจัดส่งแบบมืออาชีพในยุคออนไลน์

ระบบ ePOD ไม่ใช่ของใหม่ในงานโลจิสติกส์ แต่เป็นระบบที่จำเป็นสำหรับมาตรฐานการบริการขนส่งในปัจจุบัน เพราะ ePOD จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในขั้นตอนการบริหารจัดการงานจัดส่ง การติดตามหลักฐานการจัดส่ง ไปจนถึงบันทึกค่าใช้จ่ายระหว่างขนส่ง

Read More »

NOSTRA LOGISTICS แพลตฟอร์มบริหารงานขนส่ง รับมาตรฐาน Q-Bus ยกระดับการบริการสำหรับรถโดยสารไม่ประจำทาง

รถโดยสารไม่ประจำทางคือหนึ่งในระบบการคมนาคมขนส่งที่ธุรกิจเลือกใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองในเส้นทางที่กำหนดไว้ และเป็นหนึ่งในประเภทรถที่รวมอยู่ในแผนของกรมการขนส่งทางบกที่มุ่งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ ทั้งด้านโครงสร้างความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ การนำระบบ GPS มาใช้กำกับติดตามรถ และการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยภายในรถ ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีและตรวจสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

Read More »

จีไอเอส ดันแพลตฟอร์ม NOSTRA LOGISTICS ยึดหลัก ESG ตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์

จีไอเอส ขยายเป้าการทำงาน เดินหน้าผลักดันเทคโนโลยี NOSTRA LOGISTICS นวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุน และปรับปรุงกระบวนการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยระบบบริหารจัดการงานขนส่งอัจฉริยะ (NOSTRA LOGISTICS TMS) ให้ผลตอบแทนการลงทุนได้สูงสุดถึง 15% สอดรับกลยุทธ์ ESG เพื่อโลก และธุรกิจเติบโตไปพร้อมกัน

Read More »

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

02-678-0963

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th