ทั้งนี้ บริษัทฯ จึงได้พัฒนาบริการ NOSTRA Logistics Data Analytics Platform ให้เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้จัดการข้อมูลสำหรับธุรกิจขนส่ง ตั้งแต่การนำเข้าข้อมูลจากอุปกรณ์และเซนเซอร์หลากหลายแหล่งที่มา จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและตัวแปรต่าง ๆ ออกมาเป็นข้อมูล Data Insight ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึกจากงานขนส่งภายในธุรกิจ ที่สำคัญคือสามารถพิจารณาผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่หลากหลายได้ภายในแพลตฟอร์มเดียวกัน ผ่าน Dashboard ช่วยแก้ปัญหาการจัดการฐานข้อมูลภายในองค์กร และพร้อมสำหรับการทำ Big Data Analytics ที่ช่วยค้นหาข้อมูลเชิงลึกจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาและแนวโน้มที่เป็นไปได้จากการเรียนรู้ข้อมูลในอดีต จึงนำไปใช้ในการบริหารและจัดการให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจได้มากกว่าข้อมูลการติดตามรถโดยทั่วไป
นางสาวปิยวดีกล่าวเพิ่มเติมว่า การทำ Data Insight องค์กรต้องเริ่มจากโจทย์หรือปัญหาทางธุรกิจเป็นพื้นฐานในการเก็บข้อมูล เพราะ Big Data ได้จากข้อมูลเก่าหรือ Historical Data สามารถสรุปข้อมูลในอดีตเพื่อใช้คาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่ง Data Analytics Platform จะช่วยจัดเก็บข้อมูลตามลำดับความสำคัญและตอบโจทย์ปัญหาทางธุรกิจขนส่ง เช่น ข้อมูลจากการติดตามรถ พิกัด ระยะทาง ระยะเวลา พฤติกรรมการขับขี่และข้อมูลที่มาจากเซ็นเซอร์และอุปกรณ์เทเลเมติกส์ นำมาประกอบเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ เพื่อคาดการณ์แนวโน้ม การแจ้งเตือน รวมถึงให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ธุรกิจ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจและพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานขนส่งและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้
“จากตัวอย่างข้อมูลที่เกิดจากการทำ Data Analytics และ Data Insight ของระบบ NOSTRA Logistics เช่น Shipment Report & Dashboard ที่สรุปจำนวนรายการ Shipment และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดส่งในแต่ละรอบการวิ่งงานผ่านกราฟ พร้อมระบุสาเหตุหากการจัดส่งล่าช้า เพื่อให้มีข้อมูลในการบริหารจัดการและวางแผนปรับปรุงการจัดส่งให้ดีขึ้น หรือ Driver Performance Analytics Report ที่วิเคราะห์ข้อมูลการขับรถของพนักงานหลังจบทริปขนส่ง เพื่อให้ผู้จัดการงานขนส่งมีข้อมูลในการวางแผนและปรับปรุงการทำงานของพนักงานขับรถ และสามารถพูดคุยแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็นขึ้น ตลอดจนรายงานอื่น ๆ ที่ช่วยประเมินการทำงานและการแจ้งเตือน เช่น Alert & Safety Report ทำให้รู้ตำแหน่งรถขนส่งและพฤติกรรมการขับรถ อีกทั้งการวิเคราะห์และแจ้งเตือนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น” นางสาวปิยวดี กล่าว
อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีการขนส่งและโลจิสติกส์กำลังอยู่ในระหว่างการก้าวผ่านยุค Big Data และ Internet of Thing (IoT) ผู้ประกอบการในธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ต้องเร่งปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้น แต่คือการปรับเปลี่ยนธุรกิจโดยนำกลยุทธ์ดิจิทัลซึ่งตอบโจทย์ทางธุรกิจมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อสร้างคุณค่าหรือการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล การใช้ประโยชน์จาก Big Data ได้จริงไม่ใช่เพียงเรื่องของการจัดทำฐานข้อมูล แต่เป็นการสร้างโอกาสให้เข้าใจธุรกิจตนเองได้ดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อช่วยปรับปรุงกระบวนการได้ดีขึ้นด้วย การทำ Data Analytics ที่สามารถวิเคราะห์ผลได้แม่นยำและถูกต้อง โดยการจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบบน Data Analytics Platform ช่วยให้เกิด Data Insight ที่เป็นข้อมูลเชิงลึกสามารถนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพหรือแก้ปัญหาการทำงานในธุรกิจขนส่งได้จริง นางสาวปิยวดีกล่าวทิ้งท้าย