ส่อง 5 เทรนด์เทคโนโลยียกศักยภาพธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ปี 2020

อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันของผู้ประกอบการอย่างเข้มข้น และยังมีการนำเทคโนโลยี เช่น หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ โมบายแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ มาเป็นตัวช่วยบริการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพงานขนส่งและโลจิสติกส์ ให้สอดคล้องกับกระแสการปรับเปลี่ยนสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัล สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องตระหนักเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงหรือเรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ นั่นคือ “บริหารต้นทุนให้ต่ำ ทำให้เร็วกว่าเดิม เพิ่มการลงทุนเทคโนโลยี” ซึ่งในแง่ของผู้บริโภคสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงคือความเร็วในการจัดส่งสินค้า การส่งมอบสินค้าตรงเวลา สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ พนักงานให้บริการอย่างมืออาชีพ และผู้รับสินค้ามีความพึงพอใจ ขณะเดียวกันธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ไทยที่กำลังเติบโตท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด ได้เร่งปรับตัว นำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารงานมากขึ้น การแข่งขันจึงไม่ใช่แค่การใช้เทคโนโลยี แต่คือการลงทุนเทคโนโลยีด้วยการอ่านเกมให้ขาด ลงทุนให้ถูกจุด เพื่อครองชัยชนะบนสมรภูมิยุค Digital Disruption

นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด ได้เปิดเผยถึง 5 เทรนด์ท้าทายของโลกขนส่งและโลจิสติกส์ในปี 2563 คือ

1. Digital logistics การบริหารงานโลจิสติกส์ด้วยข้อมูลดิจิทัล โดยมีข้อมูลเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเอาชนะคู่แข่งได้ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัลเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป เพราะดิจิทัลมีผลต่อการทำงานแบบ day-to-day ในธุรกิจ ข้อมูลในระบบดิจิทัลช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้ดีและเร็วขึ้น ทำให้มองเห็นซัพพลายเชนทั้งระบบ และสามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในทุกวันนี้ได้ง่ายขึ้น

2. Real time supply chain visibility หรือ การจัดการทัศนวิสัยในห่วงโซ่อุปทานแบบทันที เจ้าของธุรกิจจึงจำเป็นต้องรู้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าสินค้าจะอยู่ที่ไหน จำนวนเท่าไร เคลื่อนย้ายเมื่อใด ตลอดจนการใช้ IoT Sensor เพื่อการติดตามการขนส่ง เช่น เส้นทาง จุดส่งสินค้า เงื่อนไขพิเศษต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เร็วที่สุดและควบคุมค่าใช้จ่ายภายในธุรกิจ การเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้ในกระบวนการธุรกิจช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและการคาดการณ์อนาคต เพื่อปรับเปลี่ยนการจัดการออเดอร์และซัพพลายเชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

3. Consolidation of goods เป็นการรวบรวมสินค้าจากหลายบริษัทในการบรรทุกจัดส่งไม่ว่าทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ เป็นเทรนด์การจัดการขนส่งที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และ ช่วยให้กระบวนการโลจิสติกส์มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน ปัจจัยหลักคือขนาดของตลาดขนส่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับขนาดของการบรรทุกจัดส่ง เมื่อทุกสิ่งสามารถสั่งซื้อได้แบบออนไลน์ ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของจำนวนสินค้าที่จะถูกจัดส่งจำนวนมาก ขนาดของการโหลดบรรทุกการจัดส่งของบริษัทจึงเล็กลงเพื่อส่งออกสินค้าได้รวดเร็วมากขึ้น

4. Artificial and Augmented Intelligence AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ กำลังจะมาแทนที่งานบางส่วนของมนุษย์ที่ทำซ้ำ ๆ ซึ่งสามารถถูกแทนที่ด้วยระบบ เพราะเป็นระเบียบและวัดผลได้มากขึ้น แต่งานบางประเภทเป็นงานที่จำเป็นต้องใช้ทักษะของมนุษย์ จึงเกิดเทรนด์ใหม่ที่เรียกว่า“Augmented Intelligence” หรือ “ปัญญาเสริม” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่า “มนุษย์” กับ “AI” สามารถทำงานร่วมกันได้ คือ การเลียนแบบความฉลาดของมนุษย์และขยายขีดความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ลงในซอฟต์แวร์ เช่น หน่วยความจำการจัดลำดับ การรับรู้ การคาดการณ์ การแก้ปัญหา ไปจนถึงการตัดสินใจ เพื่อให้สามารถเข้าใจความต้องการของมนุษย์ได้ง่ายขึ้นและเพิ่มความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
ตัวอย่างเช่น การวางแผนงานโลจิสติกส์ สามารถใส่ข้อมูลที่มนุษย์เป็นผู้สร้าง เช่น แผนงาน ความรับผิดชอบของส่วนงานการบริการลูกค้า ความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ ความรู้สึกหรือสามัญสำนึก และอื่น ๆ ผสานเข้ากับการวิเคราะห์ประเมินผลโดย AI ที่สามารถทำนายและทำความเข้าใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ช่วยวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการตัดสินใจจากการเรียนรู้ข้อมูลในอดีต อะไรจะเกิดขึ้นหากเลือกเดินในแต่ละเส้นทาง ทำให้มีวิธีรับมือกับเหตุการณ์เหล่านั้นได้

5. Data Standardization and Predictive analytics Platform เทคโนโลยีแพลตฟอร์มสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงและจัดการข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว คือ เครื่องมือที่จะช่วยรวบรวมข้อมูลโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ในโลกดิจิทัล สิ่งที่ธุรกิจโลจิสติกส์ควรทำคือ การศึกษากระบวนการทำงานของโซลูชันแพลตฟอร์มและนำมาใช้กับธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการงานขนส่งได้ดีขึ้น เพิ่มสมรรถนะการใช้รถขนส่งได้มากขึ้น และจัดการการใช้เชื้อเพลิงการขนส่งได้น้อยลง ข้อมูลและการวิเคราะห์พยากรณ์ด้วยแพลตฟอร์มจะทำให้เห็นรูปแบบของความเสี่ยงรวมถึงโอกาสที่อาจเกิดขึ้นด้วยข้อมูลที่มีในระบบ และอาจใส่เงื่อนไขเฉพาะลงไป ทำให้ได้ข้อมูลพยากรณ์ล่วงหน้า เช่น อุบัติเหตุ การใช้น้ำมัน การซ่อมบำรุงรถ การใช้จ่าย เส้นทางขนส่งและจุดจอดรถที่เหมาะสม

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

NOSTRA LOGISTICS แพลตฟอร์มบริหารงานขนส่ง รับมาตรฐาน Q-Bus ยกระดับการบริการสำหรับรถโดยสารไม่ประจำทาง

รถโดยสารไม่ประจำทางคือหนึ่งในระบบการคมนาคมขนส่งที่ธุรกิจเลือกใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองในเส้นทางที่กำหนดไว้ และเป็นหนึ่งในประเภทรถที่รวมอยู่ในแผนของกรมการขนส่งทางบกที่มุ่งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ ทั้งด้านโครงสร้างความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ การนำระบบ GPS มาใช้กำกับติดตามรถ และการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยภายในรถ ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีและตรวจสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

Read More »

จีไอเอส ดันแพลตฟอร์ม NOSTRA LOGISTICS ยึดหลัก ESG ตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์

จีไอเอส ขยายเป้าการทำงาน เดินหน้าผลักดันเทคโนโลยี NOSTRA LOGISTICS นวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุน และปรับปรุงกระบวนการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยระบบบริหารจัดการงานขนส่งอัจฉริยะ (NOSTRA LOGISTICS TMS) ให้ผลตอบแทนการลงทุนได้สูงสุดถึง 15% สอดรับกลยุทธ์ ESG เพื่อโลก และธุรกิจเติบโตไปพร้อมกัน

Read More »

รู้ความแตกต่างระหว่าง Standard TMS และ Custom TMS เลือกระบบ TMS ที่เหมาะแก่ธุรกิจคุณ

เมื่อคุณกำลังค้นหาเครื่องมือช่วยบริหารจัดการการขนส่งอย่างระบบ TMS (Transportation Management System) คุณอาจจะกำลังสงสัยว่า อะไรคือคุณสมบัติมาตรฐานของโปรแกรม TMS และจะซื้อจากบริษัทไหน เหมือนกับที่คนส่วนมากนึกถึงโปรแกรม ERP

Read More »

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

02-678-0963

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th