พลิกโฉมธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ให้ทันสมัย ด้วยนวัตกรรม AI และระบบ TMS

       ข้อมูล กระบวนการ และการวิเคราะห์เพื่อเห็นข้อมูลเชิงลึกเป็นหัวใจสำคัญต่อการตัดสินใจของธุรกิจ ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เป็นประโยชน์และมองข้ามไม่ได้ในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ

       สำหรับอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ก็เช่นกัน AI เป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่มีบทบาทสำคัญ ซึ่งช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน เพิ่มความถูกต้องแม่นยำ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากด้วย AI ในระบบ Transportation Management System (TMS) ช่วยให้ผู้จัดการงานขนส่งสามารถตัดสินใจสิ่งที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น ทั้งยังช่วยจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดเวลาและความผิดพลาดที่เกิดจาก Human error และลดต้นทุนค่าใช้จ่าย

รู้จัก Artificial Intelligence (AI) ที่ประยุกต์ใช้ในธุรกิจ

AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือ วิทยาศาสตร์ของการเลียนแบบทักษะของมนุษย์ แต่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ AI มีความสามารถวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลมหาศาลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงมากกว่าที่มนุษย์สามารถทำได้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากข้อมูลที่นำเข้า เรียกว่า Machine Learning และใช้วิธีการประมวลผลทางคณิตศาสตร์และสถิติหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล และนำไปสร้างโมเดลผลลัพธ์จากข้อมูลที่ผ่านการเรียนรู้และอัลกอริทึมของ AI ได้อย่างแม่นยำ

ลักษณะการประยุกต์ใช้งาน AI กับธุรกิจ แบ่งเป็น

1.Process Automation  คือ ให้ AI ประมวลผลอัตโนมัติ หรือทำหน้าที่อ่านและป้อนข้อมูลจากระบบต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ภาพ ตัวอักษร และเสียง

2.Cognitive Insight ใช้อัลกอริทึมในการหารูปแบบจากข้อมูลจำนวนมาก และแปลความหมายข้อมูลเหล่านั้น ทำหน้าที่เป็นนักวิเคราะห์

3.Cognitive Engagement ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย เช่น Chatbot ระบบแนะนำสินค้าแก่ลูกค้ารายบุคคล

ตัวอย่างการใช้งาน AI ในระบบบริหารงานขนส่งอัตโนมัติ NOSTRA LOGISTICS TMS

  1. การวิเคราะห์ข้อมูลและทำงานอัตโนมัติ

เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลการจัดเส้นทางขนส่งโดยอัตโนมัติ (Vehicle Routing Problem – VRP) ด้วยการใช้ข้อมูลคำสั่งงานขนส่งและพิกัดตำแหน่งจุดแวะ มาผสานกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศที่มีข้อมูลประกอบอื่น เช่น  รูปแบบการจราจร กฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับถนน เพื่อคำนวณหาลำดับจุดส่งสินค้าและกำหนดเส้นทางการจัดส่งที่เหมาะสมตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ต้นทุนค่าขนส่งต่ำที่สุด หรือ ใช้เวลาเดินทางน้อยที่สุด

นอกจากนี้  AI ยังช่วยในการจัดการเลือกยานพาหนะและบรรทุกสินค้า (Resource Optimization) ด้วยการใส่ข้อมูลให้เรียนรู้ เช่น ประเภทสินค้าและน้ำหนักการบรรทุกของรถแต่ละคัน เมื่อมีคำสั่งงานขนส่ง AI จะวิเคราะห์เลือกและนำเสนอตัวเลือกรถที่เหมาะสมในงานขนส่งแต่ละรอบ เป็นต้น

  1. การสนับสนุนการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหา

เช่น การใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อบริหารจัดการผู้รับจ้างช่วงงานขนส่ง หรือ รถเอาท์ซอร์ส (Transport Subcontract Management) โดยสามารถประมวลผลข้อมูล จับคู่ผู้รับจ้างฯ กับงานตามคำสั่งใบงานขนส่ง และตัดสินใจมอบหมายงานให้ผู้รับจ้างฯ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ด้วยเงื่อนไขต่างๆ เช่น ราคาค่าเที่ยววิ่ง ประเภทสินค้าขนส่ง คุณภาพบริการ เป็นต้น ทำให้บริษัทบริหารงานของผู้รับจ้างฯ ได้ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งช่วยควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายการวิ่งเที่ยวรถ

อีกหนึ่งตัวอย่าง คือ AI วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอทางเลือกแผนเที่ยววิ่งรถ (Shipment Planning)  เพื่อให้ตัดสินใจ รวมถึงสามารถวิเคราะห์และรายงานผลเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลตามแผนงานและการวิ่งรถจริง (Shipment Timeline Monitoring) เช่น ระยะทางปัจจุบัน ระยะเวลาปัจจุบัน คาดการณ์กำหนดเวลาถึงปลายทาง ระยะเวลาที่ล่าช้ากว่าแผน เพื่อการตรวจติดตามการทำงาน โดยหากไม่เป็นไปตามแผนหรือพบปัญหาระหว่างทาง จะได้หาวิธีการแก้ไขปัญหาได้ทัน

  1. การตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม

เช่น การเก็บข้อมูลคำนวณค่าน้ำมันตามระยะทางจริงจากเลขไมล์ของรถหรือเซนเซอร์ที่ตัวถังน้ำมัน เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความผิดปกติในการใช้น้ำมันจากการวิ่งรถจริงกับปริมาณที่คาดการณ์ตามแผนงานวิ่งรถ หรือ การใช้กล้องวีดิโอออนไลน์ MDVR/AIO ที่มีระบบ AI ร่วมกับระบบ TMS เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการขับรถ ซึ่งกล้องสามารถตรวจจับใบหน้าและการใช้มือของผู้ขับรถ เช่น ตามองไปข้างหน้า จับพวงมาลัย ถือโทรศัพท์มือถือ สูบบุหรี่ หรือ ตรวจจับการทำงานของตัวรถและสภาพแวดล้อมรอบรถ เช่น การเบรก การเลี้ยว ระยะห่างระหว่างตัวรถกับรถคันหน้า ฯลฯ และจะทำหน้าที่แจ้งเตือนพฤติกรรมเสี่ยงอันตราย เพื่อควบคุมความปลอดภัยในการขับขี่

  1. การคาดการณ์และวางแผนการบริหารจัดการ

เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลประวัติการใช้รถและคาดการณ์กำหนดเวลาที่เหมาะสมสำหรับการซ่อมบำรุง (Preventive Maintenance Scheduling)  หรือ วิเคราะห์ข้อมูลประวัติการซ่อมแก้ไขรถจากปัญหาที่พบบ่อย และคาดการณ์ความเสียหายของอุปกรณ์หรือรถได้ล่วงหน้า พร้อมแจ้งเตือนก่อนเกิดปัญหาเดิมขึ้นอีก ช่วยให้ธุรกิจป้องกันความเสียหายได้ทันท่วงที

5 ข้อดี ที่ทำให้ธุรกิจทำงานง่ายขึ้นจาก AI และระบบ NOSTRA LOGISTICS TMS

  • Automate processes: หากมีข้อมูลเพียงพอและจัดอัลกอริทึมถูกต้อง AI จะทำงานไม่ผิดพลาดสามารถเข้าใจและดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งจําเป็นสําหรับการวิเคราะห์ได้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว   

  • Improve efficiency and increase profitability: การวิเคราะห์ คาดการณ์ และนำเสนอทางเลือกด้วยข้อมูล ช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากร เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนและเพิ่มกำไรให้แก่ธุรกิจ

  • Reduce human error: ลดโอกาสผิดพลาดจากแรงงานคนให้น้อยลง ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

  • 24×7 Availability: สามารถจัดการกับงานที่ยุ่งยาก ซ้ำซ้อน น่าเบื่อ หรือต้องติดตามได้ตลอด 24 ชั่วโมง

  • Minimize risks: ช่วยลดความเสี่ยงในงานที่เป็นอันตราย เช่น ระบบตรวจสอบความปลอดภัยในการขับรถ

สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ที่  https://www.nostralogistics.com/tms

หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ nostralogistics@cdg.co.th โทรศัพท์ 02-678-0963  ต่อ 3714

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

รู้ความแตกต่างระหว่าง Standard TMS และ Custom TMS เลือกระบบ TMS ที่เหมาะแก่ธุรกิจคุณ

เมื่อคุณกำลังค้นหาเครื่องมือช่วยบริหารจัดการการขนส่งอย่างระบบ TMS (Transportation Management System) คุณอาจจะกำลังสงสัยว่า อะไรคือคุณสมบัติมาตรฐานของโปรแกรม TMS และจะซื้อจากบริษัทไหน เหมือนกับที่คนส่วนมากนึกถึงโปรแกรม ERP

Read More »

NOSTRA LOGISTICS เปิด 5 เทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัล 2025

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ซับซ้อนและมีกฎระเบียบใหม่ ๆ ทางการค้า การพัฒนาธุรกิจบริการขนส่งโดยมุ่งเน้นการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพไม่เพียงพออีกต่อไป

Read More »

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

02-678-0963

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th