เชื่อมต่อระบบ WMS และ TMS ปลดล็อคการบริหารคลังสินค้ายุคใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพจัดการออเดอร์สินค้าพร้อมการจัดส่ง

          การบูรณาการหรือเชื่อมต่อระบบจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System – WMS) และระบบจัดการการขนส่ง (Transportation Management System – TMS) เข้าด้วยกันจะช่วยลดความล่าช้า ลดความผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลซ้ำซ้อนในสองระบบ เพิ่มความสามารถในการบริหารซัพพลายเชนตั้งแต่การจัดการคำสั่งซื้อ การวางแผนการบรรทุกสินค้า การดำเนินการขนส่งสินค้า และการตรวจสอบติดตามการส่งสินค้า

บทบาทสำคัญและการเชื่อมต่อกันระหว่าง WMS และ TMS

ระบบจัดการคลังสินค้า (WMS) เป็นซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ช่วยจัดการกระบวนการภายในคลังสินค้าให้เป็นอัตโนมัติ เช่น การรับสินค้า การจัดสรรพื้นที่คลังสินค้า การจัดเก็บ การระบุตำแหน่ง การนำของออก รวมถึงการบรรจุสินค้าเพื่อการขนส่ง สิ่งสำคัญในระบบ WMS คือ การมองเห็นข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ ช่วยให้ติดตามสินค้าในสต๊อกได้ง่ายและจัดการต่อคำสั่งซื้อได้อย่างรวดเร็ว

ระบบจัดการการขนส่ง (TMS) เป็นซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ช่วยให้ธุรกิจวางแผน ดำเนินการ และปรับปรุงกระบวนการเกี่ยวกับการขนส่งและส่งมอบสินค้าได้โดยอัตโนมัติ ด้วยความสามารถสำคัญในการสร้างทางเลือกการจัดส่งที่ใช้พารามิเตอร์เป็นตัวกำหนดได้ เช่น ค่าใช้จ่าย เวลา ลำดับการจัดส่ง เป็นต้น และเมื่อกำหนดแผนการขนส่งแล้วก็สามารถติดตามการขนส่งและแจ้งเตือนการขนส่งล่าช้า ตลอดจนสรุปข้อมูลงานขนส่งและการวัดประสิทธิภาพการทำงาน เช่น เวลาการขนส่ง ต้นทุนค่าใช้จ่าย ประสิทธิภาพของผู้ขนส่ง

          การเชื่อมต่อระบบ TMS เข้ากับ WMS ทำให้กระบวนการรับสินค้าเข้าคลัง จัดเก็บ และจัดส่งสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดย TMS จะช่วยจัดสรรตารางการขนส่งจากคำสั่งซื้อสินค้าที่ได้รับและนำเข้าสู่กระบวนการจัดส่งได้ทันที ทั้งยังจัดเก็บข้อมูลงานขนส่งซึ่งตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ดังนั้น การเชื่อมต่อข้อมูลของทั้ง 2 ระบบเข้าด้วยกัน จึงช่วยเพิ่มความสามารถการบริหารคลังสินค้า วางแผนการนำของเข้าและออกจากคลัง ติดตามสถานะและจุดหมายของสินค้าที่เบิกจ่าย เพิ่มความรวดเร็ว แม่นยำ ลดข้อผิดพลาดในการทำงาน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น และสามารถอัพเดทสต๊อกสินค้าให้ตรงกันได้ทันที ทำให้จัดส่งสินค้าได้รวดเร็วและติดตามสถานะการจัดส่งสินค้าได้แบบเรียลไทม์

5 ขั้นตอน เชื่อมต่อ WMS กับ TMS ให้ประสบความสำเร็จ

          สิ่งสำคัญในการเชื่อมต่อระบบ WMS และ TMS เข้าด้วยกัน ธุรกิจจะต้องทำความเข้าใจและประเมินระบบและกระบวนการทำงานปัจจุบัน เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานที่ทำให้ทั้ง 2 ระบบทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น

  1. กำหนดเป้าหมาย หน้าที่รับผิดชอบ และผลลัพธ์ในการเชื่อมต่อการทำงานของระบบให้ชัดเจน 
  2. พิจารณาความสามารถของระบบที่มีในปัจจุบัน และความสามารถที่ต้องการพัฒนาหรือปรับปรุง
  3. ระบุความต้องการข้อมูลต่าง ๆที่ต้องใช้ในการเชื่อมต่อ จากระบบ WMS และ TMS
  4. พิจารณาโซลูชันในการเชื่อมต่อระบบ เช่น มี API รองรับ สามารถซิงค์และอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์
  5. เลือกแพลตฟอร์มระบบที่ทำงานได้ง่าย เช่น ทำงานผ่าน Internet และระบบ Cloud ซึ่งรับส่งข้อมูลได้ทุกเวลา และมีความยืดหยุ่นในการปรับขยายขนาดเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น

          การรวมระบบอาจมีความซับซ้อนอยู่บ้าง แต่หากเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมและทำตามขั้นตอนที่จำเป็นจะทำให้การบูรณาการประสบความสำเร็จและช่วยให้คุณเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ซึ่งนำไปสู่ผลกำไรและการเติบโตที่เพิ่มขึ้นในท้ายที่สุด

เลือกพันธมิตรเทคโนโลยีงานขนส่งที่คุณวางใจได้

        NOSTRA LOGISTICS ผู้ให้บริการโซลูชันและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีด้านการขนส่งอัจฉริยะ (Intelligence Transportation Platform) และระบบบริหารจัดการงานขนส่ง TMS พันธมิตรทางธุรกิจและเทคโนโลยีสำหรับงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปีในการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศด้านโลจิสติกส์และการบูรณาการระบบ พร้อมทีมงานที่เชี่ยวชาญในการสร้างโซลูชันที่มีประสิทธิภาพเพื่อจัดการปัญหาด้านการขนส่งสำหรับองค์กรทุกขนาด

 

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

NOSTRA LOGISTICS แพลตฟอร์มบริหารงานขนส่ง รับมาตรฐาน Q-Bus ยกระดับการบริการสำหรับรถโดยสารไม่ประจำทาง

รถโดยสารไม่ประจำทางคือหนึ่งในระบบการคมนาคมขนส่งที่ธุรกิจเลือกใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองในเส้นทางที่กำหนดไว้ และเป็นหนึ่งในประเภทรถที่รวมอยู่ในแผนของกรมการขนส่งทางบกที่มุ่งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ ทั้งด้านโครงสร้างความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ การนำระบบ GPS มาใช้กำกับติดตามรถ และการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยภายในรถ ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีและตรวจสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

Read More »

จีไอเอส ดันแพลตฟอร์ม NOSTRA LOGISTICS ยึดหลัก ESG ตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์

จีไอเอส ขยายเป้าการทำงาน เดินหน้าผลักดันเทคโนโลยี NOSTRA LOGISTICS นวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุน และปรับปรุงกระบวนการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยระบบบริหารจัดการงานขนส่งอัจฉริยะ (NOSTRA LOGISTICS TMS) ให้ผลตอบแทนการลงทุนได้สูงสุดถึง 15% สอดรับกลยุทธ์ ESG เพื่อโลก และธุรกิจเติบโตไปพร้อมกัน

Read More »

รู้ความแตกต่างระหว่าง Standard TMS และ Custom TMS เลือกระบบ TMS ที่เหมาะแก่ธุรกิจคุณ

เมื่อคุณกำลังค้นหาเครื่องมือช่วยบริหารจัดการการขนส่งอย่างระบบ TMS (Transportation Management System) คุณอาจจะกำลังสงสัยว่า อะไรคือคุณสมบัติมาตรฐานของโปรแกรม TMS และจะซื้อจากบริษัทไหน เหมือนกับที่คนส่วนมากนึกถึงโปรแกรม ERP

Read More »

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

02-678-0963

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th