รู้จักแนวทางการคำนวณ Carbon Footprint ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างตรงจุด

          กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน และนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกตื่นตัวถึงปัญหาและเริ่มมีแนวทางหรือมาตรการเพื่อบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน โดยมี Carbon Footprint เป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการดำเนินงานขององค์กร ทำให้สามารถวางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างตรงจุด ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายให้องค์กรจากการลดการใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร

          คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คือ ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ (Greenhouse gas emissions and removals) หากปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ เรียกว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint for Product) หรือ ปล่อยจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร เรียกว่า  คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization)

          ก๊าซเรือนกระจก (GHG) มีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเทน (CH4), ไนตรัสออกไซด์ (N2O), ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs), เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs), ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) ก๊าซเรือนกระจกทั้ง 7 ชนิดนี้ จะถูกวัดและรายงานผลในรูปของตันหรือกิโลกรัมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tonCO2 eq หรือ kgCO2 eq)  เป็นการเปรียบเทียบค่าก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ด้วยค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเมื่อเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

มาตรฐานการประเมินปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกขององค์กร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท (Carbon Emission Types) ดังนี้

ประเภท 1: กิจกรรมการทางตรงจากการดำเนินงานขององค์กร (Direct Emissions)

ประเภท 2: กิจกรรมการทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions)

ประเภท 3: กิจกรรมการทางอ้อมอื่นๆ (Other Indirect Emissions)

          การกำหนด Carbon Emission ทั้ง 3 ประเภท ช่วยให้แต่ละองค์กรเห็นภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานธุรกิจ ทำให้ประเมินและระบุกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด แล้วจัดเรียงความสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวม อีกทั้งสามารถติดตามประสิทธิภาพในกระบวนการลดการปล่อยก๊าซได้ง่ายขึ้น

 

เข้าใจแนวทางการประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

          เมื่อองค์กรรวบรวมและเก็บข้อมูลจากกิจกรรมต่าง ๆ และคำนวณปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรจะทำให้องค์กรสามารถประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาตลอดกระบวนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ และสามารถจำแนกสาเหตุและแหล่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญ และนำไปสู่การหามาตรการหรือแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

แนวทางเบื้องต้นสำหรับองค์กรในการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจก

  1. ระบุกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรตามขอบเขต Carbon Emission ทั้ง 3 ประเภท
  2. วิเคราะห์แหล่งปล่อยและแหล่งดูดกลับก๊าซเรือนกระจก โดยพิจารณาจากกิจกรรมหลักในแต่ละหน่วยงานและแยกตามประเภท เช่น

3. เลือกวิธีการการคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ทั้งนี้ การคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำได้หลายวิธีหรือโมเดล ในทีนี้ขอยกตัวอย่าง การคำนวณโดยใช้ข้อมูลกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กรคูณกับค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อ้างอิงสมการและค่า Emission Factor ของ CFO มาจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (ดูข้อมูล Emission Factor ได้ที่ คลิก)

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก = ข้อมูลกิจกรรม x ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

          ข้อมูลกิจกรรม (Activity Data) คือ ปริมาณการใช้พลังงานหรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซออกมา เช่น ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ที่นับออกมาเป็นหน่วยของการใช้งาน

ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก* (Emission Factor) คือ ค่าที่แสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วย 

*ขึ้นอยู่กับกิจกรรมและเทคโนโลยีของแหล่งปล่อยก๊าซในแต่ละประเทศ บางประเทศอาจมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเงื่อนไขเฉพาะของกิจกรรมนั้น ๆ เรียกว่า ค่าการปล่อยเฉพาะของประเทศ (Country specific emission factor) ซึ่งได้มาจากการตรวจวัดจริงหรือการทดลอง หรือ หากไม่มีสามารถอ้างอิงได้จาก 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories

4.เก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรมที่มีการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก โดยพิจารณาจากข้อมูลที่จะต้องใช้ในการคำนวณและแหล่งอ้างอิงค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเลือกช่วงเวลาของการเก็บข้อมูลและช่วงความถี่ เช่น 1 ปีปฏิทินหรือปีงบประมาณ

5. คำนวณค่าการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรแยกตามประเภท โดยองค์กรจะต้องคำนึงถึงความโปร่งใสและสามารถบอกถึงที่มาของการคำนวณและแหล่งอ้างอิงค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

          องค์กรธุรกิจสามารถจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรเพื่อแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจก และใช้แนวทางการประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ CFObyTGO) เพื่อตรวจสอบกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม และบริหารจัดการพร้อมกำหนดมาตรการหรือแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนแก่สังคมและโลกอย่างยั่งยืน

โปรดติดตามการประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกิจกรรมการเดินทางและการขนส่งในตอนต่อไป

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

ประเมิน Carbon Footprint ลดมลพิษจากกิจกรรมด้านการเดินทางและการขนส่ง

การเดินทางและการขนส่งเป็นกิจกรรมที่ใช้นำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก จึงถือเป็น 1 ในกิจกรรมหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas – GHG) โดยที่ก๊าซเรือนกระจกเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และภาคธุรกิจ และเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน ธุรกิจต่าง ๆ

Read More »

ยกระดับการบริหารงานขนส่งและโลจิสติกส์บนระบบ TMS ด้วยข้อมูลแผนที่และเทคโนโลยี GIS

การบริหารจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ยุคใหม่ ต้องการมากกว่าแค่การติดตามตำแหน่งรถและสถานะของงานขนส่ง ความต้องการลดต้นทุนการขนส่งและความซับซ้อนในซัพพลายเชนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต่างต้องปรับตัวและใช้โซลูชันที่เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้มากยิ่งขึ้น

Read More »

Asset Tracking in Transportation ติดตามสินทรัพย์งานขนส่ง เพิ่มประโยชน์การใช้งาน และมูลค่าสินทรัพย์

ทุกธุรกิจมีสินทรัพย์ที่มีค่า การจัดการสินทรัพย์ คือ กระบวนการดูแลสินทรัพย์ของบริษัทให้สามารถใช้งานได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มมูลค่าแก่สินทรัพย์ งานขนส่งก็เช่นกัน โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น รถบรรทุกขนส่ง รถหัวลาก หางรถพ่วง ตู้คอนเทนเนอร์ อุปกรณ์ ฯลฯ ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญในการปฏิบัติงานขนส่งและขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้าและมั่นคง

Read More »

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th