ประเมิน Carbon Footprint ลดมลพิษจากกิจกรรมด้านการเดินทางและการขนส่ง
การเดินทางและการขนส่งเป็นกิจกรรมที่ใช้นำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก จึงถือเป็น 1 ในกิจกรรมหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas – GHG) โดยที่ก๊าซเรือนกระจกเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และภาคธุรกิจ และเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน ธุรกิจต่าง ๆ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่แตกต่างกันออกไปตามกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร ธุรกิจภาคการขนส่งมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับ 2 รองจากภาคพลังงาน และยังเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขยายตัว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันภาคการขนส่งเริ่มปรับตัวเชิงบวกต่อการจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ใช้น้ำมันสะอาดเพิ่มขึ้น จัดการการขนส่งที่ประหยัดน้ำมันมากขึ้น การบำรุงรักษาเครื่องยนต์เพื่อให้การเผาไหม้เชื้อเพลิงสะอาดขึ้น และเริ่มมีมาตรการสำหรับการลดมลพิษ นับเป็นความท้าทายในการมุ่งสู่ Net Zero Emission ในปี 2065
คำนวณค่า Carbon Footprint กิจกรรมการขนส่ง
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คือ ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ (Greenhouse gas emissions and removals) หากปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ เรียกว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint for Product) หรือ ปล่อยจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร เรียกว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) โดยการวัดและรายงานผลจะแสดงในรูปของตันหรือกิโลกรัมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tonCO2 eq หรือ kgCO2 eq)
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมี 3 ประเภท (Carbon Emission Types) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเดินทางและการขนส่งขององค์กรจัดอยู่ในประเภทที่ 1 และประเภทที่ 3 เป็นกลุ่มกิจกรรมการเผาไหม้ที่มีการเคลื่อนที่ได้ ดังนี้
ประเภทที่ 1 (ทางตรง) ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ใช้ในการเดินทางและขนส่งด้วยยานพาหนะประเภทต่าง ๆ ขององค์กรเอง
ประเภทที่ 3 (ทางอ้อม) ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ใช้ในการเดินทางและขนส่งด้วยรถสาธารณะ หรือ รถส่วนตัวของบุคลากร หรือ รถของเอาท์ซอร์ส
ทั้ง 2 ประเภทใช้สมการการคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบเดียวกัน คือ
กรณีทราบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้
x
ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง
กรณีที่ไม่ทราบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
1.
ระยะทาง x น้ำหนักบรรทุก
x ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามประเภทของรถที่ใช้ หรือ
2.
ระยะทาง/อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
x ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง
ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) คือ ค่าที่แสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วย
สำหรับกิจกรรมการเผาไหม้ที่มีการเคลื่อนที่ มีตารางค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก* (Emission Factor) แบ่งตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), เมษายน 2565 ดูข้อมูล Emission Factor ทั้งหมดได้ที่ คลิก
ตัวอย่างการประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการเดินทางและการขนส่งขององค์กร
ตัวอย่าง การประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร A จากกิจกรรมการเดินทางและการขนส่งขององค์กรใน 1 ปี
จากตาราง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร A ที่เกี่ยวกับกิจกรรมการเดินทางและการขนส่งทั้งประเภทที่ 1 และ 3 มีปริมาณค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรเท่ากับ 65,416.52 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2 eq) หรือ 65.42 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tonCO2 eq)
สำหรับองค์กรที่ใช้ระบบบริหารจัดการงานขนส่ง (NOSTRA LOGISTICS TMS) หรือ ระบบติดตามยานพาหนะ (GPS Tracking) สามารถใช้ข้อมูลปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงจากการวิ่งงานของรถแต่ละคัน ซึ่งจัดเก็บอยู่ในระบบ NOSTRA LOGISTICS มาคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามตัวอย่างสมการข้างต้นได้เช่นกัน รวมถึงมีระบบจัดการงานซ่อมบำรุง (NOSTRA LOGISTICS MMS) ที่ใช้ตรวจเช็คสภาพพาหนะและรอบบำรุงรักษาให้พาหนะขนส่งเพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษ ประโยชน์ในการจัดทำการประเมิน Carbon Footprint เช่น กำหนดเป้าหมายหรือ KPI เพื่อควบคุมการลดใช้น้ำมันและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างตรงจุด บริหารจัดการการวิ่งรถขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการลดต้นทุนและลดการใช้ทรัพยากรให้แก่องค์กร และช่วยเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสทางธุรกิจในอนาคต รวมทั้งเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมนำไปสู่ความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจ
นอกจากนี้ องค์กรยังสามารถศึกษาแนวทางการจัดทำการประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ CFObyTGO)
เลือกพันธมิตรเทคโนโลยีงานขนส่งที่คุณวางใจได้
NOSTRA LOGISTICS ผู้ให้บริการโซลูชันและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีด้านการขนส่งอัจฉริยะ (Intelligence Transportation Platform) และระบบบริหารจัดการงานขนส่ง TMS พันธมิตรทางธุรกิจและเทคโนโลยีสำหรับงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปีในการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศด้านโลจิสติกส์และการบูรณาการระบบ พร้อมทีมงานที่เชี่ยวชาญในการสร้างโซลูชันที่มีประสิทธิภาพเพื่อจัดการปัญหาด้านการขนส่งสำหรับองค์กรทุกขนาด