Asset Tracking in Transportation ติดตามสินทรัพย์งานขนส่ง เพิ่มประโยชน์การใช้งาน และมูลค่าสินทรัพย์

          ทุกธุรกิจมีสินทรัพย์ที่มีค่า การจัดการสินทรัพย์ คือ กระบวนการดูแลสินทรัพย์ของบริษัทให้สามารถใช้งานได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มมูลค่าแก่สินทรัพย์ งานขนส่งก็เช่นกัน โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น รถบรรทุกขนส่ง รถหัวลาก หางรถพ่วง ตู้คอนเทนเนอร์ อุปกรณ์ ฯลฯ  ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญในการปฏิบัติงานขนส่งและขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้าและมั่นคง

          หากธุรกิจไม่รู้ว่า หัวรถลากหรือหางรถพ่วงกับตู้คอนเทนเนอร์อยู่ที่ไหน สถานะการใช้งานเป็นอย่างไร ก็จะทำให้ไม่สามารถจัดการการใช้สินทรัพย์ได้อย่างเหมาะสม อาจจะมีช่วงปล่อยหางรถพ่วงกับตู้คอนเทนเนอร์ทิ้งไว้โดยไม่เกิดการใช้งาน หรือ มีการวางแผนการใช้งานซ้ำซ้อน ทำให้ไม่สามารถใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์ตามที่ควรจะเป็น เป็นต้น

การติดตามสินทรัพย์ด้วยระบบติดตาม

          การติดตามสินทรัพย์ (Asset Tracking) เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการสินทรัพย์ (Asset Management) เป็นวิธีที่ธุรกิจใช้เพื่อรักษาข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสินทรัพย์ โดยเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบมูลค่าของสินทรัพย์และการเก็บบันทึกรายละเอียดทั้งหมด เช่น ตำแหน่งที่ตั้ง สถานะการใช้งาน ประวัติการบำรุงรักษา ความเป็นเจ้าของ ผู้รับผิดชอบดูแล ฯลฯ หากมีการติดตามสินทรัพย์อย่างเป็นระบบจะทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง และธุรกิจสามารถตัดสินใจอย่างรอบรู้ในการบริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานสินทรัพย์

            การติดตามสินทรัพย์อย่างเป็นระบบ ทำได้ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์หรือระบบติดตามเพื่อตรวจสอบตำแหน่งและการเคลื่อนย้ายทรัพย์สินทางกายภาพ โดยมีเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดตาม เช่น การสแกนบาร์โค้ดที่ติดอยู่กับสินทรัพย์ หรือใช้แท็กอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแจ้งตำแหน่ง (เช่น GPS, RFID เป็นต้น) ระบบติดตามทรัพย์สินสมัยใหม่จะช่วยให้สามารถติดตามตำแหน่ง สภาพ สถานะการใช้งาน การบำรุงรักษา และประสิทธิภาพของสินทรัพย์สินได้ตลอดเวลา และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บในระบบได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งสะดวกต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก

สินทรัพย์งานขนส่งที่เคลื่อนที่ได้ ได้แก่ รถบรรทุกขนส่ง รถหัวลาก หางรถพ่วง ตู้คอนเทนเนอร์ หรือแม้แต่ รถที่ใช้ในกิจกรรมการเกษตรที่ต้องเคลื่อนย้ายใช้งาน เช่น รถไถ รถตัด รถเกี่ยว เป็นต้น

ระบบบริหารงานขนส่ง TMS พร้อมติดตามสินทรัพย์งานขนส่ง

          การติดตามสินทรัพย์งานขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานในระบบบริหารงานขนส่ง หรือ TMS (Transportation Management System) โดยใช้อุปกรณ์ GPS ในการติดตามยานพาหนะ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการติดตามกลางแจ้ง (Outdoor) ผ่านดาวเทียมที่ใช้ได้ในทุกพื้นที่ทั่วโลก จึงเหมาะกับงานขนส่งที่ต้องติดตามยานพาหนะและสินทรัพย์อื่นที่เคลื่อนที่ได้ เช่น หางรถพ่วง ตู้คอนเทนเนอร์ ฯลฯ และแม้พื้นที่ที่อยู่ห่างไกลหรือข้ามประเทศก็สามารถติดตามด้วย GPS ได้ง่ายด้วยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เสถียร และจำเป็นต้องมีข้อมูลแผนที่เพื่อระบุตำแหน่งที่ตั้งการเคลื่อนย้ายของสินทรัพย์

ระบบ TMS และการติดตามสินทรัพย์งานขนส่งที่ดีควรมีคุณสมบัติ ต่อไปนี้

  1. Flexibility: ระบบควรจะเข้ากันได้กับกระบวนการทำงานของธุรกิจ รวมถึงมีความยืดหยุ่นสามารถเพิ่มเติมและแก้ไขรายการสินทรัพย์ในระบบได้สะดวก และเลือกตรวจสอบข้อมูลและรายงานได้ง่าย
  2. Scalability: เมื่อธุรกิจเติบโต ระบบที่ดีจะสามารถรองรับการเพิ่มขยายขนาดการใช้งานได้โดยไม่ยุ่งยาก
  3. Reporting and analytics: ผู้บริหารเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้ตามต้องการด้วยหน้าแสดงรายงานที่ดูง่าย และใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและวางแผนการทำงาน เช่น แก้ไขปัญหา การประเมินผลงาน ค่าใช้จ่าย ฯลฯ
  4. Alerts: แจ้งเตือนเมื่อพบปัญหาหรือไม่เป็นไปตามการตั้งค่ามาตรฐาน เช่น ออกนอกพื้นที่ที่กำหนด อุณหภูมิของห้องแช่เย็นสูงหรือต่ำกว่าปกติ แจ้งเตือนเมื่อถึงรอบการบำรุงรักษา ฯลฯ
  5. Accessibility: เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาบนอุปกรณ์ใดก็ได้

ประโยชน์ของระบบ TMS ในการติดตามสินทรัพย์งานขนส่ง

          ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ระบบ TMS และการติดตามสินทรัพย์งานขนส่ง คือ จะช่วยให้ธุรกิจปรับปรุงกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

  1. ติดตามสินทรัพย์ได้ทันที เพิ่มสะดวกในการบริหารจัดการ และลดการสูญหายหรือเสียหายของสินทรัพย์
  2. เพิ่มความสามารถในการบริการลูกค้า จากการทราบข้อมูลความพร้อมของยานพาหนะหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในงานขนส่ง
  3. เพิ่มความแม่นยำในการจัดการสินทรัพย์ เมื่อมีข้อมูลพร้อมทำให้สามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมั่นใจ
  4. ปรับปรุงตารางการบำรุงรักษา เพิ่มอายุการใช้งานสินทรัพย์ สามารถกำหนดเวลาการบำรุงรักษาได้ตามบันทึกประวัติการใช้งานพร้อมการแจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนด
  5. ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน จากการใช้งานสินทรัพย์อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

NOSTRA LOGISTICS TMS เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง Last-Mile Logistics และ e-Commerce

ความต้องการอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สร้างแรงกดดันด้านการจัดส่งสินค้า ทั้งส่วนของผู้ผลิตสินค้า 1PL ก็มีการขยายการขายสินค้า จากการค้าส่งเป็นค้าปลีก โดยจัดส่งสินค้าตรงถึงผู้บริโภค รวมถึงผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์ทั้ง 2PL และ 3PL เพราะการสั่งสินค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ซนั้น

Read More »

8 จุดเด่น NOSTRA LOGISTICS ePOD บริหารงานจัดส่งแบบมืออาชีพในยุคออนไลน์

ระบบ ePOD ไม่ใช่ของใหม่ในงานโลจิสติกส์ แต่เป็นระบบที่จำเป็นสำหรับมาตรฐานการบริการขนส่งในปัจจุบัน เพราะ ePOD จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในขั้นตอนการบริหารจัดการงานจัดส่ง การติดตามหลักฐานการจัดส่ง ไปจนถึงบันทึกค่าใช้จ่ายระหว่างขนส่ง

Read More »

NOSTRA LOGISTICS แพลตฟอร์มบริหารงานขนส่ง รับมาตรฐาน Q-Bus ยกระดับการบริการสำหรับรถโดยสารไม่ประจำทาง

รถโดยสารไม่ประจำทางคือหนึ่งในระบบการคมนาคมขนส่งที่ธุรกิจเลือกใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองในเส้นทางที่กำหนดไว้ และเป็นหนึ่งในประเภทรถที่รวมอยู่ในแผนของกรมการขนส่งทางบกที่มุ่งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ ทั้งด้านโครงสร้างความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ การนำระบบ GPS มาใช้กำกับติดตามรถ และการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยภายในรถ ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีและตรวจสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

Read More »

จีไอเอส ดันแพลตฟอร์ม NOSTRA LOGISTICS ยึดหลัก ESG ตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์

จีไอเอส ขยายเป้าการทำงาน เดินหน้าผลักดันเทคโนโลยี NOSTRA LOGISTICS นวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุน และปรับปรุงกระบวนการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยระบบบริหารจัดการงานขนส่งอัจฉริยะ (NOSTRA LOGISTICS TMS) ให้ผลตอบแทนการลงทุนได้สูงสุดถึง 15% สอดรับกลยุทธ์ ESG เพื่อโลก และธุรกิจเติบโตไปพร้อมกัน

Read More »

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

02-678-0963

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th