รู้ความแตกต่างระหว่าง Standard TMS และ Custom TMS เลือกระบบ TMS ที่เหมาะแก่ธุรกิจคุณ

          เมื่อคุณกำลังค้นหาเครื่องมือช่วยบริหารจัดการการขนส่งอย่างระบบ TMS (Transportation Management System) คุณอาจจะกำลังสงสัยว่า อะไรคือคุณสมบัติมาตรฐานของโปรแกรม TMS และจะซื้อจากบริษัทไหน เหมือนกับที่คนส่วนมากนึกถึงโปรแกรม ERP

          แต่รู้หรือไม่ว่า สำหรับระบบ TMS นั้น ยังไม่มีบริษัทใดที่พัฒนาระบบจนถือเป็นมาตรฐานของโปรแกรมนี้ อย่างไรก็ดีสำหรับ TMS ที่แต่ละบริษัทพัฒนาขึ้นมานั้นมีฟังก์ชันที่จำเป็นสำหรับการทำงานจัดรวมเป็นชุดมาตรฐาน แต่อาจจะมีฟังก์ชันและฟีเจอร์ที่ครอบคลุมการทำงานสำหรับธุรกิจได้เพียง 60 – 70% เนื่องจากงานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์มีรูปแบบธุรกิจและกระบวนการทางธุรกิจที่หลากหลายจึงอาจจะขาดฟังก์ชันการทำงานบางอย่างแตกต่างกันไปตามแต่ละกิจการและจะต้องชดเชยการทำงานนั้นด้วยวิธีการอื่นนอกการทำงานในระบบ

แล้วธุรกิจจะเลือกใช้ระบบ TMS จากคุณสมบัติอะไร แบบไหน โปรดลองพิจารณาจากคำถามต่อไปนี้

TMS คืออะไร ?

          TMS (Transportation Management System) คือ ระบบบริหารจัดการการขนส่ง เพื่อช่วยวางแผน ดำเนินงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าด้วยการติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน และรายงานผล โดยระบบจะทำงานโดยอัตโนมัติและส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ ดังนั้น TMS จึงเป็นระบบสำคัญในส่วนหนึ่งของการจัดการซัพพลายเชน และระบบ TMS ที่ดีจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น พร้อมลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลกำไรให้แก่ธุรกิจ

ระบบ TMS ที่มีบริการโดยทั่วไป จะมีทั้งแบบฟังก์ชันมาตรฐาน (Standard TMS) และแบบปรับปรุงเพิ่มเติม (Custom TMS) ตามความต้องการของธุรกิจ

Standard TMS และ Custom TMS แตกต่างกันอย่างไร ?

          Standard TMS เป็นระบบ TMS มาตรฐานที่มีฟังก์ชันพื้นฐานที่จำเป็นในการทำงานขนส่งสำหรับธุรกิจโดยส่วนใหญ่ เช่น จัดการออเดอร์งานขนส่ง วางแผนและจัดเส้นทางขนส่ง ติดตามสถานะ และรายงาน และอาจมีฟังก์ชันขั้นสูงเพิ่มเติมซึ่งแล้วแต่ผู้ให้บริการออกแบบพัฒนา เช่น จัดสรรการใช้รถ จัดสินค้าขึ้นรถ เลือกเส้นทาง (ต้นทุนต่ำที่สุด/สั้นที่สุด) จัดตารางเดินรถ จัดการค่าใช้จ่าย เป็นต้น การใช้ TMS จะช่วยปรับปรุงการทำงานให้เป็นอัตโนมัติ เพิ่มความสะดวก ลดความผิดพลาดจากระบบแมนนวล

          Custom TMS เนื่องจากระบบ TMS มาตรฐานไม่สามารถทำงานได้ครอบคลุมการทำงานของธุรกิจได้ครบทุกกระบวนการ หรือในบางธุรกิจมีกระบวนการทำงานที่เฉพาะเจาะจง หรือ มีเงื่อนไขการทำงานที่แตกต่างจากงานขนส่งทั่วไป จึงต้องปรับปรุงโปรแกรมเพิ่มเติมให้สอดรับความต้องการของธุรกิจ เพื่อให้ระบบ TMS สามารถทำงานตอบโจทย์ทุกขั้นตอนการทำงาน สร้างประโยชน์ได้แก่ธุรกิจอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน

ข้อเปรียบเทียบระหว่าง Standard TMS และ Custom TMS

เลือก TMS แบบไหน สำหรับองค์กรของคุณ

โดยสรุปแล้ว Standard TMS ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับองค์กรทั่วไปที่มีกระบวนการทางธุรกิจมาตรฐาน ซับซ้อนน้อยถึงปานกลาง โดยระบบมาตรฐานมีโมดูลที่ปรับแต่งได้ตามกำหนด สามารถจัดการงานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ทั่วไปได้สะดวก คุ้มต้นทุนและสามารถนำไปใช้ได้ค่อนข้างเร็ว ช่วยประหยัดเวลาและเงิน

สำหรับองค์กรที่มีความต้องการความสามารถการทำงานขนส่งที่ซับซ้อนหรือเฉพาะตัว การใช้ Custom TMS จะมีความยืดหยุ่นในการปรับระบบให้ตรงตามความต้องการเฉพาะเจาะจงกว่า สามารถเพิ่มฟังก์ชันและฟีเจอร์ที่สำคัญต่อการทำงานในธุรกิจ โดยองค์กรจะต้องวางแผนทางการเงินสำหรับการลงทุนระบบและระยะเวลาดำเนินการ แต่ TMS จะสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าในระยะยาว

เลือกพันธมิตรเทคโนโลยีงานขนส่งที่คุณวางใจได้

NOSTRA LOGISTICS ผู้ให้บริการโซลูชันและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีด้านการขนส่งอัจฉริยะ (Intelligence Transportation Platform) และระบบบริหารจัดการงานขนส่ง TMS พันธมิตรทางธุรกิจและเทคโนโลยีสำหรับงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปีในการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศด้านโลจิสติกส์และการบูรณาการระบบ พร้อมทีมงานที่เชี่ยวชาญในการสร้างโซลูชันที่มีประสิทธิภาพเพื่อจัดการปัญหาด้านการขนส่งสำหรับองค์กรทุกขนาด

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

NOSTRA LOGISTICS เปิด 5 เทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัล 2025

จากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ซับซ้อนและมีกฎระเบียบใหม่ ๆ ทางการค้า การพัฒนาธุรกิจบริการขนส่งโดยมุ่งเน้นการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพไม่เพียงพออีกต่อไป

Read More »

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

02-678-0963

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th