จากบทความสองตอนก่อนหน้านี้ (จับตา อุตสาหกรรมขนส่งและยานยนต์ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) อย่างไร และ เมื่อโลกเชื่อมต่อความปลอดภัยบนท้องถนนผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Telematics) จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์และธุรกิจขนส่งกำลังปรับตัวรับเทคโนโลยี Telematics เพื่อประโยชน์ที่สำคัญที่สุด 2 ประการ คือ ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงการบำรุงรักษายานยนต์และชะลอความสึกหรอของเครื่องยนต์
รถยนต์สำหรับบุคคลทั่วไปมักใช้ Telematics เพื่อรับบริการสื่อสารแบบ On-board ผ่าน Application จากผู้ให้บริการข้อมูล เช่น ข้อมูลติดตามตำแหน่งรถ ข้อมูลแจ้งการบำรุงรักษารถเมื่อถึงรอบที่กำหนด การประสานงานข้อมูลและการช่วยเหลือต่างๆ เป็นต้น แต่ในธุรกิจขนส่งที่มีรถจำนวนมาก หรือเรียกว่า Fleet vehicles มักจะใช้ Telematics เพื่อบริหารจัดการ ตรวจสอบ สื่อสารและควบคุมการขับรถในแบบ On-board และ Real time ทำให้สามารถตรวจสอบการทำงานของยานยนต์ ระบุพิกัดตำแหน่ง ติดตามสถานะการขับขี่ และสื่อสารกับรถขนส่งเป็นกลุ่มได้จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างศูนย์ควบคุมและตัวรถขนส่ง
แล้ว Telematics ช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรและการบำรุงรักษารถได้อย่างไร ?
ในต่างประเทศ มีคำหนึ่งคำที่มาพร้อมกับคำว่า Telematics นั่นคือ Eco Driving หมายถึง ระบบที่ช่วยให้ผู้ขับขี่รับรู้รูปแบบการขับขี่ของตนเอง ซึ่งมีผลต่อการใช้เครื่องยนต์และการปล่อยมลพิษเข้าสู่สภาพแวดล้อม ทำให้ผู้ขับขี่ตระหนักและปรับปรุงการขับรถของตนเองเพื่อให้เกิด Eco-Friendly Driving โดยประโยชน์ที่ผู้ขับขี่จะได้รับ คือ
ในแง่ของธุรกิจขนส่ง พฤติกรรมการขับรถที่เสี่ยงอันตรายนอกจากจะทำให้ไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ยังมีผลต่อการสึกหรอของเครื่องยนต์และการสูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่จำเป็น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าขนส่งและการบำรุงรักษารถยนต์เป็นอย่างมาก ดังนั้น Telematics จึงเป็นอุปกรณ์เสริมที่เข้ามาช่วยควบคุมสิ่งเหล่านี้ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ เช่น CANBUS เข้ากับระบบประมวลผลภายในของรถยนต์ (ปัจจุบันรถบางรุ่นบางยี่ห้อจะติดตั้งระบบประมวลผลภายในซึ่งสามารถให้ข้อมูลสถานะต่างๆ ของรถคันนั้นได้ เพียงเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Telematics) เพื่อนำข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ มาวิเคราะห์ ทำให้เห็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงพฤติกรรมการขับรถและการบำรุงรักษารถยนต์ ข้อมูลสถานะต่างๆ ของรถยนต์ที่ได้จาก Telematics จะมีความแม่นยำมากกว่าการใช้ค่าประมาณจาก GPS เท่านั้น เช่น ได้ค่าปริมาณการใช้น้ำมันที่แท้จริงจากยานพาหนะ หรือระยะทางจากเลขไมล์รถจริง เป็นต้น นอกจากนี้ยังแสดงค่าอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์มากมาย ได้แก่
จะเห็นได้ว่า การใช้ Telematics ทำให้ได้รับข้อมูลแจ้งเตือนและรายงานที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น มีรายละเอียดของแต่ละปัญหาที่ชัดเจน ทำให้สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ตรงจุด ช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งและการบำรุงรักษารถยนต์ได้สูงสุด
ประโยชน์ของ Telematics ทั้งในด้านความปลอดภัย และ Eco-Driving มีส่วนช่วยในการควบคุม จัดการพฤติกรรมการขับรถ และวางแผนการบำรุงรักษารถยนต์ได้โดยตรง พร้อมทั้งมีประโยชน์จากการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data จากระบบ Telematics ที่ธุรกิจไม่ควรพลาด (โปรดติดตามในตอนต่อไป)