มาทำความรู้จัก! “เทเลเมติกส์” เทคโนโลยียุค 4.0 ผู้ช่วยสำคัญธุรกิจยานยนต์และโลจิสติกส์

ในยุค Digital Transformation เช่นนี้ เทคโนโลยีกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของทุกอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้แต่ภาคธุรกิจยานยนต์และการขนส่ง ซึ่งมีการนำเครื่องมือหลากหลายประเภทเข้ามาใช้งาน ทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล กระทั่งล่าสุด ก็มาถึงการใช้ Big Data จากเทคโนโลยี “เทเลเมติกส์” (Telematics) ซึ่งกำลังจะกลายเป็นหัวใจสำคัญต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง ท่ามกลางยุค IoT ที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ถูกเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต และ Big Data ไว้ด้วยกัน

และเมื่อเทคโนโลยี เทเลเมติกส์ ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการกลุ่มรถ การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ นอสตร้า โลจิสติกส์ (NOSTRA Logistics) ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันจัดการงานขนส่งและโลจิกติกส์ ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัท จีไอเอส จำกัด ในเครือบริษัท ซีดีจี ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า “เทคโนโลยี Telematics และ IoT สามารถนำมาใช้ประโยชน์ที่สำคัญที่สุด 2 ประการ คือ ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน และการบำรุงรักษายานยนต์ชะลอความสึกหรอของเครื่องยนต์”

วิวัฒนาการเทคโนโลยี ไม่ได้มีประโยชน์แค่ “ธุรกิจ” แต่ “ลดอุบัติเหตุ” ได้ด้วย

ใครจะเชื่อว่า “เทเลเมติกส์” และ “IoT” สามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยได้ เนื่องจาก 9 ใน 10 ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากมนุษย์ สอดคล้องกับงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ระบุว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุและการเสียชีวิตบนท้องถนนของไทย คือ การขับรถเร็วกว่าอัตราที่กำหนด รองลงมา คือ การขับรถตัดหน้าอย่างกระชั้นชิด และถัดมา คือ การขับรถตามแบบกระชั้นชิด

ดังนั้น สิ่งสำคัญลำดับแรกในการป้องกันและลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนนคือ การป้องกันพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยให้แก่ผู้ขับรถ ซึ่ง เทเลเมติกส์…เทคโนโลยีความปลอดภัยในรถยนต์เพื่อช่วยป้องกันและแจ้งเตือนให้ผู้ขับรถทราบความเสี่ยงอันตรายในขณะขับรถ สามารถตรวจสอบเมื่อคนขับไม่ได้มองถนน มือไม่จับพวงมาลัย สมองไม่มีสติในการควบคุมรถ เพื่อเพิ่มความระมัดระวังหรือเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทันเวลา

“เทเลเมติกส์” จะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับธุรกิจยานยนต์-การขนส่ง

คุณปิยวดี หงษ์ภักดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด อธิบายว่า เทเลเมติกส์เป็นโซลูชันใหม่ที่ทำหน้าที่เก็บรวมรวบและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างรถยนต์และผู้ใช้รถให้เป็นหนึ่งเดียวผ่านเทคโนโลยี IoT โดยการเชื่อมต่อและผสมผสานอุปกรณ์หลายชนิดเข้าด้วยกัน ผ่านการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตและส่งข้อมูลมารวบรวมไว้ยัง Cloud Server ทำให้เกิดการวิเคราะห์ Big Data สำหรับการบริหารจัดการในธุรกิจยานยนต์และการขนส่ง ก่อให้เกิดผลดีต่อองค์กรทางธุรกิจ ยกตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ผ่านเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ เช่น การจัดการความเสี่ยงจากพฤติกรรมการขับรถ (Risk Management) การจัดเส้นทางการเดินรถ (Routing Optimization) การประเมินความเสียหายและการบำรุงรักษารถ (Breakdown and Maintenance Management) เป็นต้น

สิ่งสำคัญที่สุด 2 ประการของการนำเทคโนโลยีเทเลเมติกส์มาใช้ คือ ความปลอดภัยของคนขับรถและการบำรุงรักษายานยนต์ รวมทั้งชะลอความสึกหรอของเครื่องยนต์ โดยในด้านความปลอดภัย การจัดการความเสี่ยงในพฤติกรรมการขับรถ สามารถใช้อุปกรณ์เทเลเมติกส์ เพื่อตรวจสอบและแจ้งเตือนการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยให้แก่ผู้ขับขี่แบบเรียลไทม์ ตลอดจนนำ Big Data ของข้อมูลการขับรถ เช่น ความเร็วในการขับขี่ การขับเร่งกระชาก การเบรกกะทันหัน ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ฯลฯ มาวิเคราะห์และประเมินความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการขับรถและการเกิดอุบัติเหตุผ่านโมเดลการวิเคราะห์การขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย และแสดงผลรายงานในรูปแบบการให้คะแนนการขับขี่ เพื่อให้คนขับปรับปรุงพฤติกรรมการขับรถได้อย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการประเมินความเสียหายและการบำรุงรักษารถ ผ่านเทเลเมติกส์ที่สามารถเก็บข้อมูลจากระบบประมวลผลภายในรถยนต์ เช่น ความเร็วรอบเครื่องยนต์ ความเร็วไมล์รถ ระดับน้ำมัน แรงดันยางรถ ผนวกกับข้อมูลจำพวกประวัติการบำรุงรักษาและซ่อมแซมรถมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมได้อย่างถูกต้อง ทำให้ธุรกิจสามารถใช้งานรถขนส่งได้เต็มประสิทธิภาพ รวดเร็ว ไม่เสียเวลาในการดำเนินธุรกิจ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดระหว่างการเดินทางได้

มี Big Data แล้ว ต้องทำได้มากกว่าวิเคราะห์-รู้ข้อมูลเชิงลึก!!!

นอกจากนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวยังสามารถแชร์ข้อมูลระหว่างภาครัฐและเอกชนได้ด้วย โดยสามารถใช้เทเลเมติกส์สำหรับวางแผนเส้นทางการจัดส่งสินค้าและการเดินรถ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล BigData จำพวกตำแหน่งของรถยนต์ ความเร็วที่ใช้ในการขับขี่ ข้อมูลการขับรถ และข้อมูลอื่น ๆ เช่น การจำกัดความเร็วรถจากป้ายจราจร สัญญาณไฟจราจร รายงานเหตุการณ์บนท้องถนนแบบเรียลไทม์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจร และวางแผนเส้นทางการขนส่งที่ดีที่สุดแก่ผู้ประกอบการ ทำให้สามารถจัดส่งสินค้าแก่ลูกค้าได้ตรงตามเวลาและกำหนดเวลาล่วงหน้าได้อย่างชัดเจน ทั้งยังป้องกันการทุจริตของพนักงานในเรื่องของเวลาการทำงานและระยะทางที่เดินทางจริง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเชื้อเพลิง รวมถึงรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นจากการใช้เชื้อเพลิงที่ลดลงด้วย

รวมถึงประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าแก่ธุรกิจ ซึ่งพบว่าบริษัทผลิตรถยนต์มีการนำเทคโนโลยีเทเลเมติกส์เข้ามาติดตั้งและเชื่อมต่อกับรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่น พร้อมกับฟังก์ชั่นใหม่ที่ให้ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และความอุ่นใจด้วยบริการตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ค้นหาตำแหน่งรถยนต์ ตรวจสอบตำแหน่งรถยนต์กรณีถูกโจรกรรม การแจ้งเตือนขณะจอดรถเมื่อเกิดความผิดปกติกับรถยนต์ การนัดหมายเพื่อนำรถเข้าบริการตามระยะ บริการความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น ซึ่งจากที่กล่าวมาพบว่าเทเลเมติกส์มีความโดดเด่นในเรื่องความปลอดภัย ทำให้ธุรกิจด้านอื่นอย่างธุรกิจประกันภัยนำเทเลเมติกส์เข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การบริการแก่ลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ เทเลเมติกส์ยังเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจด้วยการผลิตยานพาหนะที่ไร้คนขับ หรือ Autonomous Vehicles ที่ได้เริ่มเข้ามาถึงอุตสาหกรรมการขนส่งในปีที่ผ่านมาแล้ว โดยกล่าวกันว่า…เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการขับรถและยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน จากความสามารถของเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองที่เรียกว่า Connected Car ซึ่งก็คือ รถยนต์ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเชื่อมโยงกับอุปกรณ์อื่นทั้งภายในรถยนต์และภายนอกรถยนต์ได้ เรียกว่าเป็น Vehicle-to-Vehicle Communication เพื่อควบคุมการขับรถทั้งหมดโดยไม่ต้องใช้คนขับ

อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ระดับโลกว่า Connected Car จะเติบโตในตลาดได้ 100% ในปี 2569 แม้จะพบเป็นจำนวนน้อยในปัจจุบัน แต่เทเลเมติกส์จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการระบบข้อมูล และพัฒนาเทคโนโลยีของยานพาหนะไร้คนขับให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในอนาคต ซึ่งนับว่าเป็นความหวังใหม่ในตัวสินค้าและบริการ เป็นการเพิ่มโอกาสในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล Big Data ให้เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ โดยในยุค Digital Transformation ภาคธุรกิจยานยนต์และการขนส่งได้นำเทคโนโลยีเทเลเมติกส์มาช่วยในกระบวนการทำงาน รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบของดิจิทัล และนำเสนอผลลัพธ์แบบ Visualization ที่เข้าใจง่ายและชัดเจนผ่านการแสดงผลบน Dashboard แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่มีการเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ ด้วยรูปแบบของสถิติ คะแนน หรือเกรดจากการวิเคราะห์และประเมินผล ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างง่ายและสะดวก นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและตอบรับกับวิถีชีวิตของผู้คนในยุคใหม่

ที่มา: https://www.marketingoops.com/news/brand-move/telematics-tool-for-logistic/

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

8 จุดเด่น NOSTRA LOGISTICS ePOD บริหารงานจัดส่งแบบมืออาชีพในยุคออนไลน์

ระบบ ePOD ไม่ใช่ของใหม่ในงานโลจิสติกส์ แต่เป็นระบบที่จำเป็นสำหรับมาตรฐานการบริการขนส่งในปัจจุบัน เพราะ ePOD จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในขั้นตอนการบริหารจัดการงานจัดส่ง การติดตามหลักฐานการจัดส่ง ไปจนถึงบันทึกค่าใช้จ่ายระหว่างขนส่ง

Read More »

NOSTRA LOGISTICS แพลตฟอร์มบริหารงานขนส่ง รับมาตรฐาน Q-Bus ยกระดับการบริการสำหรับรถโดยสารไม่ประจำทาง

รถโดยสารไม่ประจำทางคือหนึ่งในระบบการคมนาคมขนส่งที่ธุรกิจเลือกใช้ในการขนส่งผู้โดยสารเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองในเส้นทางที่กำหนดไว้ และเป็นหนึ่งในประเภทรถที่รวมอยู่ในแผนของกรมการขนส่งทางบกที่มุ่งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ ทั้งด้านโครงสร้างความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ การนำระบบ GPS มาใช้กำกับติดตามรถ และการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยภายในรถ ซึ่งผู้ประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีและตรวจสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

Read More »

จีไอเอส ดันแพลตฟอร์ม NOSTRA LOGISTICS ยึดหลัก ESG ตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์

จีไอเอส ขยายเป้าการทำงาน เดินหน้าผลักดันเทคโนโลยี NOSTRA LOGISTICS นวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุน และปรับปรุงกระบวนการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยระบบบริหารจัดการงานขนส่งอัจฉริยะ (NOSTRA LOGISTICS TMS) ให้ผลตอบแทนการลงทุนได้สูงสุดถึง 15% สอดรับกลยุทธ์ ESG เพื่อโลก และธุรกิจเติบโตไปพร้อมกัน

Read More »

รู้ความแตกต่างระหว่าง Standard TMS และ Custom TMS เลือกระบบ TMS ที่เหมาะแก่ธุรกิจคุณ

เมื่อคุณกำลังค้นหาเครื่องมือช่วยบริหารจัดการการขนส่งอย่างระบบ TMS (Transportation Management System) คุณอาจจะกำลังสงสัยว่า อะไรคือคุณสมบัติมาตรฐานของโปรแกรม TMS และจะซื้อจากบริษัทไหน เหมือนกับที่คนส่วนมากนึกถึงโปรแกรม ERP

Read More »

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

02-678-0963

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th